นิสิตฯ มหาสารคามร่วมวงเสวนาฟังเสียงประเทศไทย

: 5 พ.ย. 2567, 16:30 : 172

                              

#นิสิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ร่วมวงเสวนา รายการฟังเสียงประเทศไทย

ชมรมสื่อสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ร่วมรายการฟังเสียงประเทศไทย ที่ ต.ท่าขอนยาง อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม โดยมีชาวบ้าน นิสิต ผู้นำชุมชน ภาครัฐ นักวิชาการ ร่วมเสวนาและโหวตฉากทัศน์ การรับมือและแก้โจทย์จากภัยพิบัติลุ่มน้ำชี

                                 

A : คนเล็กสู้โลก ตั้งรับปรับตัวระดับชุมชน

นาย วัชระ ไชยราช ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ 4 บ้านท่าขอนยาง อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม

ประการที่หนึ่ง การเเก้ปัญหาต่างช่วยเหลือกันเองโดยมีภาครัฐ เอกชน มีการเตือนภัยก่อนน้ำท่วมเพราะผู้นำแต่ละหมู่บ้านได้มีการวัดระดับน้ำตลอดเวลา ให้มีการขับเคลื่อนช่วยเหลือพี่น้องเต็มที่

ปีนี้มวลน้ำมามาก จึงต้องมาดูในเรื่องการเยียวยา ชาวบ้าน นิสิต แต่ละคนมีจิตอาสาในการป้องกันและการรับมือกับมวลน้ำ

ประการที่สอง เราสามารถดำเนิดการได้ทุกอย่าง แต่ติดที่กรอบของหน่วยงานราชการ อยากให้เอาความเดือนร้อนของประชาชน มาเป็นอันดับแรก แก้ไขกฎระเบียบ ที่ทำให้ระบบราชการเข้าไปช่วยเหลือประชาชนให้ได้เร็วที่สุด

ประการที่สาม ปลุกพลังจิตสำนึก จิตอาสา นิสิตและประชาชนในพื้นที่ ที่ผ่านมาบ้านท่าขอนยาง ได้รับการเยียวยาจากทาง เทศบาล จังหวัด เอกชนมอบสิ่งของมาในพื้นที่ ซึ่งไม่เพียงพอต่อผู้ที่ได้รับความเดือดร้อน

B : รวมกันเราอยู่ บูรณาการรัฐท้องถิ่น

ว่าที่ร้อยตรี ดร.รังสรรค์ ชินภักดี สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดมหาสารคาม

หน่วยงานทุกภาคส่วน จะมีการบูรณาการทั้งภาครัฐและเอกชน ส่วนกลางภาครัฐกระจายบุคลากรลงไปช่วยแต่ละพื้นที่ทั้ง 4 อำเภอ ภาครัฐมีการถอดบทเรียน ทำอย่างไรพี่น้องประชาชนในพื้นที่มหาสารคามจะปรับตัวแล้วก็ร่วมมือในการที่จะขับเคลื่อน ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนอย่างมีประสิทธิภาพ ภาครัฐพยายามจะแก้ระเบียบให้มีการคล่องตัวขึ้น ให้ท้องถิ่นสามารถปฏิบัติงานได้เร็วขึ้น ภาครัฐงบประมาณและบุคลากรน้อยลง จึงต้องอาศัยภาคเอกชนประชาชน จิตอาสา เข้ามาช่วยเหลือ ให้มีศักยภาพเพิ่มมากขึ้น สิ่งนี้ที่จะทำให้การแก้ปัญหาเข้ากับธรรมชาติและอยู่กับธรรมชาติได้ดีขึ้น

C : จากต้นจนปลาย จัดการน้ำแบบองค์รวม

ผศ.ดร.ไชยณรงค์ เศรษฐเชื้อ อาจารย์คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

ประการที่หนึ่ง จะต้องจัดการตั้งแต่ต้นน้ำปลายน้ำลุ่มน้ำชีคือ ทุกเขื่อนในลุ่มน้ำชีจะต้องแผนเผชิญเหตุฉุกเฉินทางสิ่งแวดล้อม เพื่อที่จะมีการบริหารจัดการน้ำไม่ให้กระทบต่อคนที่อยู่ท้ายน้ำ เราไม่มีหน่วยงานที่ดูแลเรื่องเขื่อน นอกจากนั้นยังมีโครงการที่อยู่ตลอดลำน้ำ คือ ผนังกั้นน้ำ เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดน้ำท่วม

ประการที่สอง จะต้องมีแผนเผชิญเหตุอุทกภัยตามพรบป้องกันและบรรเทาสาธารภัยซึ่งเป็นหน้าที่ของ ปภ.(กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย) แผนเผชิญเหตุจะช่วยในการบริหารตั้งแต่แจ้งเตือนล่วงหน้า 120 ชั่วโมง มีการระดมคนและทรัพยากรมากู้ภัยระหว่างที่เกิดน้ำท่วม รวมถึงงบประมาณที่มีจะต้องจัดตั้งแล้วมีการฟื้นฟูและเยียวยา เช่น องค์การบริหารส่วนตำบลก็ควรที่จะมีแผนเผชิญเหตุอุทกภัย

ประการที่สาม แผนเผชิญเหตุอุทกภัย ชุมชนก็สามารถที่จะทำได้ด้วย ถ้าทำทุกระดับกับจังหวัด ก็จะสามารถช่วยในการรับมือกับภัยพิบัติได้

ประการที่สี่ การวางผังเมืองบริเวณลุ่มน้ำชี จะต้องวางเพื่อให้สอดคล้องกับสภาพทางภูมิศาสตร์

#ศูนย์สื่อสุขภาวะเพื่อการสื่อสารภาคอีสาน

#MOJOอีสาน

Tags :

ผู้เขียน

mojo
mojo esan