ปลูกดอกแก้วไว้ในบ้าน...จะทำให้คนตายจริง ?

: 7 ต.ค. 2567, 12:47 : 158

ปลูกดอกแก้วไว้ในบ้าน...จะทำให้คนตายจริง ?

.ดอกแก้วเป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลางลำต้นมีความสูงประมาณ 5-10 เมตร เปลือกลำต้นมีสีขาวปนเทา ลำต้นแตกเป็นสะเก็ดเป็นร่องตามยาว การแตกกิ่งก้านของทรงพุ่มไม่ค่อยเป็นระเบียบ ใบออกเป็นช่อเป็นแผง ออกใบเรียงดอกสีขาว กลิ่นหอม ดอกบานเต็มที่กว้างประมาณ 2-3 เซนติเมตร ผลรูปไข่รีปลายทู่ มีสีส้ม ภายในมีเมล็ด 1-2 เมล็ด ดอกแก้วเป็นดอกไม้แห่งความบริสุทธิ์ เป็นดอกไม้ที่มีคุณค่าคู่ควรกับสิ่งที่เรานับถืvลักษณะของดอกไม้ก็สามารถใช้กราบไหว้ได้หมด โดยไม่ติดข้อห้ามของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ใดเลย การปลูกต้นแก้วไว้ภายในรั้วบ้านจึงถือว่าเป็นสิริมงคลอย่างยิ่ง จะทำให้บรรยากาศภายในครอบครัวเต็มไปด้วยความรัก แต่ในบ้านโนนปอ ตำบลบัวน้อย อำกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ มีความเชื่อว่าถ้าปลูกดอกแก้วไว้ในบริเวณบ้านจะทำให้บ้านนั้นมีคนตาย ซึ่งจากการลงพื้นที่สำรวจและได้สอบถามจากชาวบ้านปรากฏว่า ชาวบ้านมีความเชื่อกันแทบทุกหลังคาเรือน และไม่นิยมปลูกดอกแก้วไว้บริเวณบ้านเลย

.

จากการสัมภาษณ์นางสาวณัฐชญา กิตยาพันธ์ นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ เป็นคนที่อยู่จังหวัดศรีสะเกษเหมือนกันแต่อยู่คนละหมู่บ้าน ปรากฏว่าในหมู่บ้านไม่ได้มีความเชื่อเรื่องปลูกดอกแก้วไว้ในบริเวณบ้านจะทำให้บ้านนั้นมีคนตาย (ข้อมูลวันที่สัมภาษณ์ 31 พฤษภาคม 2564)

และจากการสัมภาษณ์นางสาววรางคนา วงษาบุตร นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ เป็นคนจังหวัดอุบลราชธานี ให้ข้อมูลว่าไม่มีความเชื่อนี้และไม่เคยได้ยินจากที่ไหนมาก่อน (ข้อมูลวันที่สัมภาษณ์ 1มิถุนายน 2564)

จากการศึกษาข้อมูลเบื้องต้นไม่มีข้อมูลยืนยันว่าปลูกดอกแก้วไว้ในบ้านจะทำให้คนตาย มีแต่ข้อมูลที่ว่าบ้านใดปลูกต้นแก้วไว้ประจำบ้านจะทำให้คนในบ้านมีความดี มีคุณค่าสูง เพราะคำว่า แก้ว นั้นหมายถึง สิ่งที่ดีมีค่าสูงเป็นที่นับถือบูชาของบุคคลทั่วไปซึ่งโบราณได้เปรียบเทียบของที่มีค่าสูงนี้เสมือนดั่งดวงแก้ว นอกจากนี้คนโบราณยังมีความเชื่ออีกว่า บ้านใดปลูกต้นแก้วไว้ประจำบ้านจะทำให้เป็นคนที่มีจิตใจบริสุทธิ์ มีความเบิกบาน เพราะแก้วคือความใสสะอาดความสดใสนอกจากนี้ดอกแก้วยังมีสีขาวสะอาดสดใสมีกลิ่นหอมนวลไปไกลและยังนำดอกแก้วไปใช้ในพิธีบูชาพระในพิธีทางศาสนาได้เป็นสิริมงคลยิ่งอีกด้วย

.

เครือข่าย : มหาวิทยาลัยศรีสะเกษ

5 มิถุนายน 2564

หมวดหมู่ : ให้ความรู้

Tags :

ผู้เขียน

mojo
mojo esan